6/25/2555

Effective of Policy in Rational Expectation

Effective of Policy in Rational Expectation


เริ่มจากการพิจารณาในตลาดผลผลิต เริ่มแรก สมมติให้ตลาดอยู่ในภาวะดุลยภาพ (เส้น AD (M0) ตัดกับเส้น AS (M0e)) นั่นคือระดับราคาสินค้าดุลยภาพอยู่ที่ P0 ระดับรายได้ที่แท้จริงดุลยภาพอยู่ที่ Y0 โดยมีปริมาณเงินในระบบ M0 และแรงงานคาดการณ์ไว้ว่าในระบบมีเงิน M0e ดังรูปด้านล่างนี้


ต่อมาจะพิจารณาในตลาดแรงงาน เริ่มแรก สมมติให้ตลาดอยู่ในภาวะดุลยภาพ (เส้น Nd (P0) ตัดกับเส้น Ns (M0e) นั่นคือระดับค่าจ้างที่เป็นตัวเงินดุลยภาพที่ W0 และระดับการจ้างงานดุลยภาพที่ N0 โดยแรงงานมีการคาดการณ์ไว้ว่ามีเงินในระบบเศรษฐกิจ M0e และระดับราคาสินค้าในขณะนี้อยู่ที่ P0 ดังรูปด้านล่างนี้


ต่อมารัฐบาลดำเนินนโยบายการเงินแบบขยายตัว (Expansion Monetary Policy) สมมติให้ในกรณีนี้แรงงานไม่สามารถคาดการณ์ไว้ล่างหน้าได้ (Unanticipate) เนื่องจากรัฐบาลเพิ่มปริมาณเงินในระบบ ทันทีโดยไม่ประกาศให้ประชาชนทั่วไปทราบล่วงหน้า ส่งผลกระทบในตลาดผลผลิต ทำให้เส้น AD (M0)ขยับไปเป็นเส้น AD (M1) การเพิ่มขึ้นของปริมาณเงินในระบบจาก M0 เป็น M1ทำให้ระดับราคาสินค้าเพิ่มขึ้นจาก P0 เป็น P1 และทำให้รายได้ที่แท้จริงเพิ่มขึ้นจาก Y0 เป็น Y1 ดังรูปด้านล่างนี้


นอกจากนี้ในตลาดแรงงาน การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าเพิ่มขึ้นในตลาดผลผลิตจาก P0 เป็น P1 (จากรูปข้างบน) ทำให้เส้น Nd (P0) ขยับไปเป็นเส้น Nd (P1) การเพิ่มขึ้นของปริมาณเงินในระบบจาก M0 เป็น M1 ทำให้การจ้างงานสูงขึ้นจาก N0 เป็น N1 และค่าจ้างที่เป็นตัวเงินสูงขึ้นจาก W0 เป็น W1 ดังรูปด้านล่างนี้


ดังนั้นในขณะนี้ตลาดผลผลิตอยู่ในภาวะดุลยภาพที่ระดับราคาสินค้าอยู่ที่ P1 และรายได้ที่แท้จริงอยู่ที่ Y1 โดยมีปริมาณเงินในระบบ M1 และแรงงานคาดการณ์ไว้ว่าในระบบมีเงิน M0e ดังรูปด้านล่างนี้


และตลาดแรงงานอยู่ในภาวะดุลยภาพที่ค่าจ้างที่เป็นตัวเงินอยู่ที่ W1 และการจ้างงานอยู่ที่ N1 โดยมีปริมาณเงินในระบบ M1 และแรงงานคาดการณ์ไว้ว่าในระบบมีเงิน M0e ดังรูปด้านล่างนี้


ต่อมาเมื่อแรงงานรับรู้ว่าในระบบเศรษฐกิจมีการเพิ่มปริมาณเงินจาก M0 เป็น M1 ทำให้แรงงานมีการปรับตัวตามการคาดการณ์แบบ Rational Expectation ทำให้เส้น AS (M0e) ขยับสูงขึ้นเป็น AS (M1e) ส่งผลให้ระดับราคาสินค้าสูงขึ้นจาก P1 เป็น P2 และยังส่งผลให้รายได้ที่แท้จริงลดลงจาก Y1 เป็น Y0 ดังรูปด้านล่างนี้


นอกจากนี้เมื่อแรงงานมีการปรับตัวตามการคาดการณ์แบบ Rational Expectation ทำให้เส้น Ns (M0e) ขยับไปเป็นเส้น Ns (M1e) ทำให้ค่าจ้างที่เป็นตัวเงินสูงขึ้นจาก W1 เป็น W2 และปริมาณการจ้างงานลดลงจาก N1 เป็น N0 ดังรูปด้านล่างนี้


ดังนั้นในขณะนี้ระบบเศรษฐกิจอยู่ในภาวะดุลยภาพที่ระดับราคาสินค้าอยู่ที่ P2 และรายได้ที่แท้จริงอยู่ที่ Y0 โดยมีปริมาณเงินในระบบ M1 และแรงงานคาดการณ์ไว้ว่าในระบบมีเงิน M1e ดังรูปด้านล่างนี้


และตลาดแรงงานอยู่ในภาวะดุลยภาพที่ค่าจ้างที่เป็นตัวเงินอยู่ที่ W2 และการจ้างงานอยู่ที่ N0 โดยมีปริมาณเงินในระบบ M1 และแรงงานคาดการณ์ไว้ว่าในระบบมีเงิน M1e ดังรูปด้านล่างนี้


สรุป เมื่อพิจารณาจากภาพรวมทั้งหมดจะเห็นเป็นไปตามรูปด้านล่างนี้


ตลาดผลผลิต




ตลาดแรงงาน

นั่นคือในกรณีที่แรงงานไม่สามารถคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าได้ (Unaticipate) ในกรณีที่รัฐบาลประกาศว่าจะเพิ่มปริมาณเงินล่วงหน้าเพื่อให้ประชาชนได้ปรับตัวได้ทัน ทำให้แรงงานสามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ (Anticipate) ทำให้แรงงานคาดการณ์ไว้ว่าเมื่อปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ราคาสินค้าก็จะเพิ่มขึ้น ทำให้แรงงานต้องปรับตัว ส่งผลให้ในตลาดผลผลิตมีการปรับตัว โดยเส้น AS (M0e) ขยับไป (ตามเส้นสีเขียว) เป็นเส้น AS (M1e) พร้อม ๆ กับที่ปริมาณเงินในระบบเพิ่มขึ้น ทำให้เส้น AD (M0) ขยับไป (ตามเส้นสีแดง) เป็นเส้น AD (M1) ทำให้เกิดภาวะดุลยภาพที่ระดับราคาสินค้าอยู่ที่ P2 และรายได้ที่แท้จริงอยู่ที่ Y0 ส่วนในตลาดแรงงานก็มีการปรับตัวเช่นกัน โดยเส้น Nd (P0) ขยับไป (ตามเส้นสีแดง) เป็นเส้น Nd (P1) พร้อม ๆ กับที่ปริมาณเงินเพิ่มขึ้น ทำให้เส้น Ns (M0e) ขยับไป (ตามเส้นสีเขียว) เป็นเส้น Ns (M1e) ทำให้เกิดดุลยภาพในตลาดผลผลิตที่ (P2 , Y0) และดุลยภาพในตลาดแรงงานที่ (W2 , N0)