6/25/2555

Speculative Demand for Money

การถือเงินเพื่อเก็งกำไร (Speculative Demand for Money)
การถือเงินสดทำให้เกิดค่าเสียโอกาสของเงิน ซึ่งค่าเสียโอกาสของเงินคิดเป็นมูลค่าตามอัตราดอกเบี้ยในตลาด จึงมีการถือเงินเพื่อนำไปซื้อ Asset ตามนิยามของ Keyne บอกว่า Asset คือสินทรัพย์ต่าง ๆ ที่มีความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็น ที่ดิน เงินฝากธนาคารต่าง ๆ หุ้น พันธบัตร เป็นต้น แต่ตามนิยามของ Classic บอกว่าเป็นเพียงหุ้นหรือพันธบัตรเท่านั้น ดังนั้น การถือเงินเพื่อเก็งกำไรจึงหมายถึงการที่บุคคลถือเงินเพื่อซื้อสินทรัพย์ต่าง ๆ ที่มีความเสี่ยง และการถือเงินเพื่อเก็งกำไรนี้ขึ้นอยู่กับอัตราดอกเบี้ย โดยผันแปรผกผันตามอัตราดอกเบี้ย นั่นคือ เมื่ออัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น การถือเงินเพื่อเก็งกำไรจะลดลง เพราะว่าบุคคลสามารถเล็งเห็นได้ว่าอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น หมายถึงอัตราผลตอบแทนที่สูงขึ้น อีกทั้ง อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ทำให้ราคาพันธบัตรลดลงอีกด้วย ดังนั้นบุคคลจะนำเงินจำนวนหนึ่งไปซื้อสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับความเสี่ยงที่ได้รับ นั่นคือจำนวนเงินที่บุคคลถือเพื่อเก็งกำไรจะลดลง หรือเมื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำลง การถือเงินเพื่อเก็งกำไรจะเพิ่มขึ้น เพราะว่าบุคคลสามารถเล็งเห็นได้ว่าอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง หมายถึงอัตราผลตอบแทนที่ลดลง อีกประการหนึ่ง อัตราดอกเบี้ยที่ลดลง ทำให้ราคาของพันธบัตรสูงขึ้น ทำให้บุคคลเลือกที่จะถือเงิน(อาจรวมถึงการขายพันธบัตร)มากกว่าถือสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง นั่นคือจำนวนเงินที่บุคคลถือเพื่อเก็งกำไรจะเพิ่มขึ้น ความเสี่ยงจากการถือสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงนั้น ทำให้เกิดผลได้ 2 ทาง คือ

Capital Gain
Capital Gain คือภาวะที่เกิดจากการขายพันธบัตรในราคาที่สูงว่าราคาที่ซื้อมา นั่นคือการซื้อพันธบัตรนั้นทำให้เกิดกำไร และ

Capital Loss
Capital Loss คือภาวะที่เกิดจากการขายพันธบัตรในราคาต่ำกว่าราคาที่ซื้อมา นั่นคือการซื้อพันธบัตรนั้นทำให้เกิดการขาดทุน

ตัวอย่างเช่น รัฐบาลขายพันธบัตรรัฐบาลในราคา 1000 บาท มีผลตอบแทนให้ปีละ 50 บาท และสมมติให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดเท่ากับ 5% ดังนั้นรัฐบาลจะขายพันธบัตรนี้ในราคา

ราคาของพันธบัตร= ผลตอบแทนของพันธบัตร / อัตราดอกเบี้ยในตลาด
= 50 / 0.05
= 1000 บาท
ต่อมาสมมติให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดเพิ่มขึ้นเป็น 10% ดังนั้นราคาของพันธบัตรรัฐบาลจะอยู่ที่
ราคาของพันธบัตร= ผลตอบแทนของพันธบัตร / อัตราดอกเบี้ยในตลาด
= 50 / 0.1
= 500 บาท
นั่นคือ ราคาของพันธบัตรที่ซื้อมาในตอนแรกเท่ากับ 1000 บาท ต่อมาเมื่ออัตราดอกเบี้ยในตลาดเพิ่มขึ้นจาก 5% เป็น 10% ทำให้ราคาของพันธบัตรเท่ากับ 500 บาท ทำให้เกิด Capital Loss จำนวน 1000 - 500 = 500 บาท ดังนั้น บุคคลจะเลือกถือเงินจำนวน 1000 บาท มากกว่าที่จะถือพันธบัตรนี้ หากบุคคลรู้ล่วงหน้าว่าอัตราดอกเบี้ยในตลาดจะสูงขึ้น
ในทางกลับกัน
สมมติให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลงเป็น 2% ดังนั้นราคาของพันธบัตรรัฐบาลจะอยู่ที่

ราคาของพันธบัตร= ผลตอบแทนของพันธบัตร / อัตราดอกเบี้ยในตลาด
= 50 / 0.02
= 2500 บาท
นั่นคือ ราคาของพันธบัตรที่ซื้อมาในตอนแรกเท่ากับ 1000 บาท ต่อมาเมื่ออัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลงจาก 5% เป็น 2% ทำให้ราคาของพันธบัตรเท่ากับ 2500 บาท ทำให้เกิด Capital Gain จำนวน 2500 - 1000 = 1500 บาท ดังนั้น บุคคลจะเลือกนำเงินจำนวน 1000 บาท ไปซื้อพันธบัตรนี้มากกว่าที่จะถือเงินสด หากบุคคลรู้ล่วงหน้าว่าอัตราดอกเบี้ยในตลาดจะต่ำลง

การคาดการณ์ว่าดอกเบี้ยในอนาคตว่าจะเป็นอย่างไร
ตามปกติแล้ว บุคคลจะมีอัตราดอกเบี้ยในใจของบุคคลอยู่ และอัตราดอกเบี้ยในใจของแต่ละบุคคลไม่จำเปนต้องเท่ากันทุกคน การที่อัตราดอกเบี้ยในใจของบุคคลไม่เท่ากันทำให้การมองอัตราดอกเบี้ยในตลาดสูงต่ำไม่เท่ากัน ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนกันขึ้น อัตราดอกเบี้ยในใจของบุคคล (Normal Rate of Interest Rate) จะเป็นเกณฑ์ในการตัดสินการเลือกซื้อหรือไม่ซื้อสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง โดยที่หากอัตราดอกเบี้ยในใจของบุคคล (Normal Rate) สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยในตลาด (Market Rate) ทำให้บุคคลคาดการณ์ไว้ว่าอัตราดอกเบี้ยในตลาดจะสูงขึ้นจนเท่ากับอัตราดอกเบี้ยในใจของบุคคล ตามการคาดการณืไว้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะสูงขึ้น ทำให้ราคาคาดการณ์ของพันธบัตรจะลดลง ทำให้เกิด Capital Loss ขึ้น ดังนั้นบุคคลจะเลือกถือเงินสดมากกว่าถือพันธบัตร เนื่องจากนอกจากจะได้ผลตอบแทน (ตามอัตราดอกเบี้ย) ในอัตราที่ลดลงแล้ว ยังได้รับ Capital Loss อีกด้วย ในทางกลับกัน หากตราดอกเบี้ยในใจของบุคคล (Normal Rate) ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยในตลาด (Market Rate) ทำให้บุคคลคาดการณ์ไว้ว่าอัตราดอกเบี้ยในตลาดจะลดลงจนเท่ากับอัตราดอกเบี้ยในใจของบุคคล ตามการคาดการณืไว้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะลดลง ทำให้ราคาคาดการณ์ของพันธบัตรจะสูงขึ้น ทำให้เกิด Capital Gain ขึ้น ดังนั้นบุคคลจะซื้อพันธบัตรมากกว่าถือเงินสด เนื่องจากนอกจากจะได้ผลตอบแทน (ตามอัตราดอกเบี้ย) ในอัตราที่สูงขึ้นแล้ว ยังได้รับ Capital Gain อีกด้วย






จากรูป บุคคลจะมีอัตราดอกเบี้ยในใจของแต่ละบุคคล โดยสมมติให้ Normal Rate อยู่ในระดับ r0 เมื่อระดับอัตราดอกเบี้ยในตลาดสูงกว่าระดับอัตราดอกเบี้ยในใจของบุคคล นั่นคืออยู่ในช่องหมายเลข (1) บุคคลจะคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยในตลาดจะลดลง ทำให้ราคาของพันธบัตรสูงขึ้น บุคคลจะเลือกถือสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงมากกว่าจะถือเงินสด เนื่องจากเงินสดมีค่าเสียโอกาสเป็นจำนวนมาก
หากระดับอัตราดอกเบี้ยในตลาดต่ำกว่า r0 แต่ยังสูงกว่า r1 โดยที่ r1 เป็น Critical Rate คือระดับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำที่สุดที่บุคคลจะเลือกถือสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง นั่นคืออยู่ในช่องหมายเลข (2) บุคคลจะคาดการณ์ไว้ว่าอัตราดอกเบี้ยในตลาดจะเพิ่มขึ้น ทำให้ราคาของพันธบัตรลดลง ทำให้บุคคลได้รับ Capital Loss แต่ Capital Loss นั้น จะมีค่าน้อยกว่าดอกเบี้ยที่ได้รับทั้งหมด ดังนั้นบุคคลจะเลือกถือสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงมากกว่าจะถือเงินสด
แต่หากระดับดอกเบี้ยในตลาดต่ำกว่า r1 นั่นคืออยู่ในช่องหมายเลข (3) บุคคลจะคาดการณ์ไว้ว่าอัตราดอกเบี้ยในตลาดจะเพิ่มขึ้น ทำให้ราคาของพันธบัตรลดลง ทำให้บุคคลได้รับ Capital Loss และ Capital Loss นั้น จะมีค่ามากกว่าดอกเบี้ยที่ได้รับทั้งหมด ดังนั้นบุคคลจะเลือกถือเงินสดมากกว่าสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง

เมื่อรวมระดับอัตราดอกเบี้ยในใจของแต่ละบุคคลรวมกัน เช่นนาย ก. มีอัตราดอกเบี้ยในใจที่ระดับ r0 นาย ข. มีอัตราดอกเบี้ยในใจที่ระดับ r1 นาย ค. มีอัตราดอกเบี้ยในใจที่ระดับ r2 เมื่อนำมารวมกันก็จะได้เส้นอุปสงค์สำหรับการถือเงินเพื่อเก็งกำไร (Speculative Demand for Money) ดังรูป

หากเส้น Speculative Demand for Money มีลักษณะเป็นเส้นตั้งตรง หมายความว่า การถือเงินเพื่อเก็งกำไรจะไม่ได้ถูกกำหนดจากปัจจัยด้านอัตราดอกเบี้ยตลาด แต่จะถูกกำหนดจากปัจจัยด้านปริมาณเงิน ซึ่งในช่วงนี้ถูกเรียกว่า Classical Range โดยบุคคลจะไม่ถือเงินสด แต่จะถือพันธบัตรทั้งหมด
หากเส้น Speculative Demand for Money มีลักษณะเป็นเส้นลาดลง หมายความว่า การถือเงินเพื่อเก็งกำไรจะถูกกำหนดจากปัจจัยด้านอัตราดอกเบี้ยตลาดและปัจจัยด้านปริมาณเงิน โดยบุคคลจะต้องเลือกสัดส่วนของการถือเงินสดและพันธบัตร
แต่หากเส้น Speculative Demand for Money มีลักษณะเป็นเส้นนอนราบ หมายความว่า การถือเงินเพื่อเก็งกำไรจะไม่ได้ถูกกำหนดจากปัจจัยด้านปริมาณเงิน แต่จะถูกกำหนดจากปัจจัยด้านอัตราดอกเบี้ยตลาด ซึ่งในช่วงนี้ถูกเรียกว่า Liquidity Trap หรือ Keynesian Trap โดยบุคคลจะเลือกถือเงินไว้ทั้งหมด

Keynesian เชื่อว่าในเวลาหนึ่งบุคคลจะเลือกถือเงินหรือพันธบัตรเพียงอย่างเดียว นั่นคือ Keynesian มองว่า Normal Rate ของบุคคลนั้นคงที่ ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น